เมนู

ทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นทูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มี
ผัสสะเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข
มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายถูกถามอย่างแล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์-
ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.
จบ มูลสูตรที่ 3

อรรถกถามูลสูตรที่ 3


มูลสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ได้แก่ ขันธ์ 5. บทว่า ฉนฺทมูลกา
ความว่า ชื่อว่า มีฉันทะเป็นมูล เพราะมีฉันทะคืออัธยาศัยและฉันทะ
คือความเป็นสู่ใคร่จะทำเป็นมูลของขันธ์ 5 นั้น. ชื่อว่ามีมนสิการเป็น
แดนเกิด เพราะเกิดแต่มนสิการ. ชื่อว่ามีผัสสะเป็นสมุทัย เพราะ
เกิด คือรวมเป็นกลุ่มผัสสะ ชื่อว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง
เพราะประชุมลงในเวทนา. ชื่อว่ามีสมาธิเป็นประมุข เพราะมี
สมาธิเป็นประธาน. ชื่อว่ามีสติเป็นใหญ่ เพราะมีสติเป็นอธิบดี
ด้วยอรรถว่าเจริญที่สุด อธิบายว่า มีสติเป็นหัวหน้า. ชื่อว่ามีปัญญา
เป็นยอด เพราะอรรถว่ามีปัญญาสูงสุด. ชื่อว่ามีวิมุตติเป็นแก่น
เพราะมีวิมุตติเป็นสาระ. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโลกิยธรรม
ทั้ง 4 มีฉันทะเป็นมูล เป็นต้น ที่เหลือตรัสคละกันทั้งโลกิยะและ
โลกุตตระแล.
จบ อรรถกถามูลสูตรที่ 3

4. โจรสูตร


[190] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ 8
ประการ ย่อมพลันเสื่อม ตั้งอยู่ไม่นาน องค์ 8 ประการเป็นไฉน
คือ ประหารคนที่ไม่ประหารตอบ 1 ถือเอาสิ่งของไม่เหลือ 1
ลักพาสตรี 1 ประทุษร้ายกุมารี 1 ปล้นบรรพชิต 1 ปล้นราชทรัพย์ 1
ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป 1 ไม่ฉลาดในการเก็บ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาโจรประกอบด้วยองค์ 8 ประการนี้แล ย่อมพลันเสื่อม ตั้งอยู่
ไม่นาน.
[191] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ 8
ประการ ย่อมไม่เสื่อมเร็ว ตั้งอยู่ได้นาน 8 ประการเป็นไฉน คือ
ไม่ประหารคนที่ประหาร 1 ไม่ถือเอาของจนไม่เหลือ 1 ไม่ลักพา
สตรี 1 ไม่ประทุษร้ายกุมารี 1 ไม่ปล้นบรรพชิต 1 ไม่ปล้น
ราชทรัพย์ 1 ไม่ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป 1 ฉลาดในการเก็บ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ 8 ประการนี้แล
ไม่เสื่อมเร็ว ตั้งอยู่ได้นาน
จบ โจรสูตรที่ 4

อรรถกถาโจรสูตรที่ 4


โจรสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า มหาโจโร ได้แก่ มหาโจรผู้สามารถประทุษร้าย
ราชสมบัติได้. บทว่า ปริยาปชฺชติ ได้แก่ ถึงการยึดครอง บทว่า